Skip to content

สร้างมูลค่าเพิ่มไผ่ด้วยธุรกิจบริการสปาเพื่อสุขภาพ

ผศ.ดร.กัญญาณัฐ เปลวเฟื่อง

การพัฒนาพื้นที่เรียนรู้บนฐานระบบนิเวศข้อมูลไผ่บนฐานศักยภาพชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มไผ่ด้วยธุรกิจบริการสปาเพื่อสุขภาพ เพื่อให้นำไปสู่การยกระดับรายได้ของวิสาหกิจชุมชนตำบลดงบังเพื่อสังคม ตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรีการ แนวทางการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้จึงเกิดขึ้นเนื่องจากเป็นแนวทางที่จะช่วยในการส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรในกลุ่มและผู้ที่สนใจ โดยมีกระบวนการทำงานเพื่อวิเคราะห์ความสามารถของศักยภาพชุมชนที่จะสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง ผ่านแนวทางหลัก 2 แนวทางหลักในการ 1) แนวคิดพื้นที่แหล่งเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ชุมชนเครือข่ายบนฐานความร่วมมือ 2) การยกระดับการเรียนรู้การสร้างผู้ประกอบการโอทอป/ธุรกิจชุมชนใหม่ ที่สามารถสร้างกระบวนการขับเคลื่อนรวมถึงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้การจัดการไผ่แปลงทดลองในพื้นที่เพื่อให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติและแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน

กระบวนการดำเนินการเพื่อสร้างให้เกิดโครงข่ายการทำงานของพื้นที่ด้วยกระบวนการกระบวนการ พัฒนารูปแบบ การเชื่อมโยงร่วมสำหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและผลิตสร้างสรรค์บนฐานศักยภาพชุมชน จังหวัดปราจีนบุรี โดยใช้แนวทางการสื่อสารเพื่อการพัฒนาเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้จากชุมชนเอง 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) สร้างความเข้าใจร่วมกรอบฐานความเชื่อมโยงทรัพยากร 2) สร้างความสัมพันธ์แบบปฏิสัมพันธ์ของชุมชนและการสร้างสรรค์ร่วมกับภายนอก 3) กระบวนการพัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงร่วมสำหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและผลิตสร้างสรรค์บนฐานศักยภาพชุมชน 4) ขับเคลื่อนการสร้างการรับรู้ทั้งชุมชนและภายนอก 5) การสร้างการมีส่วนร่วมด้วยเครื่องมือการสื่อสาร ด้วยพื้นที่เรียนรู้สร้างความเข้าใจแบ่งปันและแลกเปลี่ยนกันของผู้ปลูกผู้ผลิตผู้รวบรวม และผู้ซื้อ ทั่วไป ธุรกิจ ภาครัฐ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้วยพลังของชุมชน