Skip to content

June 2024

สร้างเครือข่ายข้ามประเทศ

รองศาสตราจารย์ ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ หัวหน้าโครงการการเพิ่มศักยภาพในการแข่งข้นทางการตลาดตลอดระบบห่วงโซ่คุณค่าไผ่ประเทศไทยผ่านกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในรูปแบบเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจไผ่ นำทีมนักวิจัยศึกษาดูงานและสร้างเครือข่าย เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2567 ณ หมู่บ้าน 高桥村 (เกาเฉียวชุน) มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงเป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศจีนในด้านการแปรรูปและหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ มีทั้งกลุ่มคนรุ่นใหม่และผู้สูงอายุที่รวมตัวกันผลิตงานเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ และงานจักสาน ป้อนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วประเทศจีน รวมถึงส่งออกต่างประเทศ การศึกษาดูงานครั้งนี้ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น นักวิจัยได้รับความรู้และแนวคิดในการผลิตเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย อันจะส่งผลให้งานแปรรูปไม้ไผ่ของไทยสามารถพัฒนาขึ้นได้อย่างมากในอนาคตอันใกล้

ไผ่เพื่อการบริโภค

ไผ่เพื่อการบริโภค เป็นไผ่ที่เหมาะกับการปลูกเพื่อตัดหน่อผลิตเป็นอาหาร ทั้งในรูปแบบหน่อสด หน่อดอง หน่อต้ม ไผ่กิมซุ่งหรือไผ่ตงลืมแล้ง เป็นไผ่ที่มีหน่อดก หน่อไม่มีขนเหมือนไผ่ตง และรสชาติดี สามารถปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่ ลักษณะของกอ ลำ และกาบ คล้ายคลึงกันกับไผ่สีสุกมาก เพียงแต่บริเวณโคนกอไม่มีหนามที่กิ่งเท่านั้น ไผ่ตง ไผ่ตงเป็นไผ่ที่มีหน่อรสหวานอร่อย รับประทานสด หรือทำหน่อไม้กระป๋องได้ โดยหน่อจะมีนํ้าหนักประมาณ 1-10 กก. กาบหน่ออ่อนมีขนสีนํ้าตาลดำ ปกคลุมหนาแน่น มีสายพันธุ์ย่อยคือ ไผ่ตงหม้อ ตงดำ ตงเขียวหรือไผ่ตงศรีปราจีน และตงหนู ไผ่ซางหม่น หน่อมีนํ้าหนักเฉลี่ยประมาณ 1.5–2 กิโลกรัม ไผ่อายุ 3 ปี จะให้ หน่อสูงสุดถึง 40 หน่อต่อกอ ไผ่รวก ไผ่รวกเป็นไผ่ขนาดเล็ก หน่อมีรสหวาน ใช้ต้มจิ้มนํ้าพริก ใส่ในแกง… Read More »ไผ่เพื่อการบริโภค