Skip to content

pichate kunakornvong

สร้างเครือข่ายข้ามประเทศ

รองศาสตราจารย์ ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ หัวหน้าโครงการการเพิ่มศักยภาพในการแข่งข้นทางการตลาดตลอดระบบห่วงโซ่คุณค่าไผ่ประเทศไทยผ่านกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในรูปแบบเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจไผ่ นำทีมนักวิจัยศึกษาดูงานและสร้างเครือข่าย เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2567 ณ หมู่บ้าน 高桥村 (เกาเฉียวชุน) มณฑลเสฉวน ประเทศจีน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงเป็นลำดับต้น ๆ ของประเทศจีนในด้านการแปรรูปและหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ มีทั้งกลุ่มคนรุ่นใหม่และผู้สูงอายุที่รวมตัวกันผลิตงานเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ และงานจักสาน ป้อนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วประเทศจีน รวมถึงส่งออกต่างประเทศ การศึกษาดูงานครั้งนี้ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น นักวิจัยได้รับความรู้และแนวคิดในการผลิตเครื่องมือต่าง ๆ มากมาย อันจะส่งผลให้งานแปรรูปไม้ไผ่ของไทยสามารถพัฒนาขึ้นได้อย่างมากในอนาคตอันใกล้

การปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไผ่และหน่อไม้

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไผ่และหน่อไม้ จังหวัดปราจีนบุรี 17 กุมภาพันธ์ 2564 นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ลงพื้นที่โครงการวิจัย การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดตลอดระบบห่วงโซ่คุณค่าไผ่ประเทศไทยผ่านกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในรูปแบบเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจไผ่ โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท) โดยลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การปลูกและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไผ่และหน่อไม้ ระหว่างเครือข่ายเกษตรกร และผู้แปรรูปจากจังหวัดลำปาง กาญจนบุรี และปราจีนบุรี จำนวนกว่า 20 คน ณ จังหวัดปราจีนบุรี

ไบโอชาร์

ไบโอชาร์ (Biochar) คืออะไร ไบโอชาร์ (Biochar)  คือ วัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากการให้ความร้อนมวลชีวภาพ (biomass, วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น เหง้ามันส าปะหลัง ฟางข้าว ซังข้าวโพด กิ่งไม้ เป็นต้น) โดยไม่ใช้ออกซิเจนหรือใช้น้อยมาก เรียกกระบวนการนี้ว่าการแยกสลายด้วยความร้อน (pyrolysis) ซึ่งมีสองวิธีหลักๆคือการแยกสลายอย่างเร็วและอย่างช้า การผลิตไบโอชาร์ด้วยวิธีการแยกสลายอย่างช้าที่อุณหภูมิเฉลี่ย 500 องศาเซลเซียส จะได้ผลผลิตของไบโอชาร์มากกว่า 50% แต่จะใช้เวลาเป็นชั่วโมง ซึ่งต่างจากวิธีการแยกสลายอย่างเร็วที่อุณหภูมิเฉลี่ย 700 องศาเซลเซียส  ซึ่งใช้เวลาเป็นวินาที ผลผลิตที่ได้จะเป็นน้ำมันชีวภาพ (bio-oil) 60%  แก๊สสังเคราะห์ (syngas)  ได้แก่ H2, CO และ CH4  รวมกัน 20% และ ไบโอชาร์ 20%  … Read More »ไบโอชาร์

ไผ่ กับคาร์บอนเครดิต

ไผ่เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นไม้โตเร็ว มีความสามารถในการตรึงก๊าซคาร์บอนใดออกไซด์ ป่าไผ่ส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่ถึง 7 ปี ก็สามารถให้ปริมาตรไม้ที่ กักเก็บคาร์บอนได้ในปริมาณที่เทียบเท่ากับป่าธรรมชาติที่ใช้เวลา 40 – 100 ปี นอกจากนี้หากได้รับการจัดการที่เหมาะสมในพื้นที่เท่า ๆ กัน ไผ่จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนใดออกไซด์ ผลิตก๊าซออกซิเจน และกัก เก็บคาร์บอนไว้ในรูปของเนื้อไม้ได้มากว่าต้นไม้ทั่วๆไปถึง 33- 70% (ไผ่ พืชทางเลือกกับการซื้อขายคาร์บอนเครดิต) คาร์บอนเครดิต คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม (โดยที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ จะเทียบกับสัดส่วนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์) อันเนื่องมาจากการที่บุคคลหรือองค์กรได้ดำเนินโครงการหรือมาตรการที่มีเป้าหมาย เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม รวมถึง การเก็บกัก หรือ การดูดกลับด้วย จากกิจกรรมหรือโครงการ ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้สามารถวัดปริมาณ โดยจะต้องมีการรับรองโดยหน่วยรับรอง ตามระเบียบหรือวิธีการของทางราชการที่เป็นที่ยอมรับหรือเทียบได้กับระดับสากล ( องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)… Read More »ไผ่ กับคาร์บอนเครดิต