Skip to content

suadmin

การสร้างมูลค่าเพิ่ม กลยุทธ์การตลาดและการพัฒนาแบบจําลองธุรกิจของผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหน่อไม้หวานแปรรูปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านไทรงาม จังหวัดปราจีนบุรี

  • by

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน แนวโน้มธุรกิจและการสร้างมูลค่าเพิ่ม2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การตลาด3) เพื่อพัฒนาแบบจําลองธุรกิจของผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหน่อไม้หวานแปรรูปของวิสาหกิจชุมชนบ้านไทรงาม จังหวัดปราจีนบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 6 กลุ่ม 22 คน นําข้อมูลที่ได้มาทําการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) จุดแข็ง วิสาหกิจมีความเข้มแข็ง มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์มีไขมันต่ําและไฟเบอร์สูง จุดอ่อน เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ยังไม่เป็นที่รู้จักและเงินทุนน้อย โอกาส หน่อไม้หวานมีปริมาณที่เพียงพอต่อการผลิตและมีแหล่งผลิตสํารองมากมาย ส่วนอุปสรรค มีคู่แข่งขันธุรกิจเป็นจํานวนมาก 2) การวิเคราะห์แรงกดดัน 5 ประการ พบว่าการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมสูง การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ต่ํา มีสินค้าทดแทนสูง อํานาจการต่อรองของลูกค้าสูง และอํานาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิตต่ํา3) การสร้างคุณค่าเพิ่ม ประกอบด้วย 4 ด้านคือ ด้านผลิตภัณฑ์ มีไขมัน

สร้างมูลค่าเพิ่มไผ่ด้วยธุรกิจบริการสปาเพื่อสุขภาพ

ผศ.ดร.กัญญาณัฐ เปลวเฟื่อง การพัฒนาพื้นที่เรียนรู้บนฐานระบบนิเวศข้อมูลไผ่บนฐานศักยภาพชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มไผ่ด้วยธุรกิจบริการสปาเพื่อสุขภาพ เพื่อให้นำไปสู่การยกระดับรายได้ของวิสาหกิจชุมชนตำบลดงบังเพื่อสังคม ตำบลดงบัง อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรีการ แนวทางการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้จึงเกิดขึ้นเนื่องจากเป็นแนวทางที่จะช่วยในการส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรในกลุ่มและผู้ที่สนใจ โดยมีกระบวนการทำงานเพื่อวิเคราะห์ความสามารถของศักยภาพชุมชนที่จะสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง ผ่านแนวทางหลัก 2 แนวทางหลักในการ 1) แนวคิดพื้นที่แหล่งเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับพื้นที่ชุมชนเครือข่ายบนฐานความร่วมมือ 2) การยกระดับการเรียนรู้การสร้างผู้ประกอบการโอทอป/ธุรกิจชุมชนใหม่ ที่สามารถสร้างกระบวนการขับเคลื่อนรวมถึงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้การจัดการไผ่แปลงทดลองในพื้นที่เพื่อให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติและแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน กระบวนการดำเนินการเพื่อสร้างให้เกิดโครงข่ายการทำงานของพื้นที่ด้วยกระบวนการกระบวนการ พัฒนารูปแบบ การเชื่อมโยงร่วมสำหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและผลิตสร้างสรรค์บนฐานศักยภาพชุมชน จังหวัดปราจีนบุรี โดยใช้แนวทางการสื่อสารเพื่อการพัฒนาเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้จากชุมชนเอง 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) สร้างความเข้าใจร่วมกรอบฐานความเชื่อมโยงทรัพยากร 2) สร้างความสัมพันธ์แบบปฏิสัมพันธ์ของชุมชนและการสร้างสรรค์ร่วมกับภายนอก 3) กระบวนการพัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงร่วมสำหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและผลิตสร้างสรรค์บนฐานศักยภาพชุมชน 4) ขับเคลื่อนการสร้างการรับรู้ทั้งชุมชนและภายนอก 5) การสร้างการมีส่วนร่วมด้วยเครื่องมือการสื่อสาร ด้วยพื้นที่เรียนรู้สร้างความเข้าใจแบ่งปันและแลกเปลี่ยนกันของผู้ปลูกผู้ผลิตผู้รวบรวม และผู้ซื้อ ทั่วไป ธุรกิจ ภาครัฐ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้วยพลังของชุมชน

ไผ่เพื่อการบริโภค

ไผ่เพื่อการบริโภค เป็นไผ่ที่เหมาะกับการปลูกเพื่อตัดหน่อผลิตเป็นอาหาร ทั้งในรูปแบบหน่อสด หน่อดอง หน่อต้ม ไผ่กิมซุ่งหรือไผ่ตงลืมแล้ง เป็นไผ่ที่มีหน่อดก หน่อไม่มีขนเหมือนไผ่ตง และรสชาติดี สามารถปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่ ลักษณะของกอ ลำ และกาบ คล้ายคลึงกันกับไผ่สีสุกมาก เพียงแต่บริเวณโคนกอไม่มีหนามที่กิ่งเท่านั้น ไผ่ตง ไผ่ตงเป็นไผ่ที่มีหน่อรสหวานอร่อย รับประทานสด หรือทำหน่อไม้กระป๋องได้ โดยหน่อจะมีนํ้าหนักประมาณ 1-10 กก. กาบหน่ออ่อนมีขนสีนํ้าตาลดำ ปกคลุมหนาแน่น มีสายพันธุ์ย่อยคือ ไผ่ตงหม้อ ตงดำ ตงเขียวหรือไผ่ตงศรีปราจีน และตงหนู ไผ่ซางหม่น หน่อมีนํ้าหนักเฉลี่ยประมาณ 1.5–2 กิโลกรัม ไผ่อายุ 3 ปี จะให้ หน่อสูงสุดถึง 40 หน่อต่อกอ ไผ่รวก ไผ่รวกเป็นไผ่ขนาดเล็ก หน่อมีรสหวาน ใช้ต้มจิ้มนํ้าพริก ใส่ในแกง… Read More »ไผ่เพื่อการบริโภค