Skip to content

article

ไผ่เพื่อการบริโภค

ไผ่เพื่อการบริโภค เป็นไผ่ที่เหมาะกับการปลูกเพื่อตัดหน่อผลิตเป็นอาหาร ทั้งในรูปแบบหน่อสด หน่อดอง หน่อต้ม ไผ่กิมซุ่งหรือไผ่ตงลืมแล้ง เป็นไผ่ที่มีหน่อดก หน่อไม่มีขนเหมือนไผ่ตง และรสชาติดี สามารถปลูกได้ในทุกสภาพพื้นที่ ลักษณะของกอ ลำ และกาบ คล้ายคลึงกันกับไผ่สีสุกมาก เพียงแต่บริเวณโคนกอไม่มีหนามที่กิ่งเท่านั้น ไผ่ตง ไผ่ตงเป็นไผ่ที่มีหน่อรสหวานอร่อย รับประทานสด หรือทำหน่อไม้กระป๋องได้ โดยหน่อจะมีนํ้าหนักประมาณ 1-10 กก. กาบหน่ออ่อนมีขนสีนํ้าตาลดำ ปกคลุมหนาแน่น มีสายพันธุ์ย่อยคือ ไผ่ตงหม้อ ตงดำ ตงเขียวหรือไผ่ตงศรีปราจีน และตงหนู ไผ่ซางหม่น หน่อมีนํ้าหนักเฉลี่ยประมาณ 1.5–2 กิโลกรัม ไผ่อายุ 3 ปี จะให้ หน่อสูงสุดถึง 40 หน่อต่อกอ ไผ่รวก ไผ่รวกเป็นไผ่ขนาดเล็ก หน่อมีรสหวาน ใช้ต้มจิ้มนํ้าพริก ใส่ในแกง… Read More »ไผ่เพื่อการบริโภค

การปลูกไผ่เพื่อการจำหน่ายจังหวัดปราจีนบุรี

คู่มือการปลูกไผ่เป็นส่วนหนึ่งของผลงานการวิจัยจากทุนอุดหนุนการวิจัย จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ประจำปีงบประมาณ 2563 เรื่อง “การศึกษาเพื่อพัฒนาปริมาณผลผลิตไผ่ต่อไร่ และการจัดการแปลงปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตของเกษตรกรปลูกไผ่ ในจังหวัดปราจีนบุรี” ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) บนฐานทรัพยากรไผ่จังหวัดปราจีนบุรี” by Sukanya Chaipong

ไบโอชาร์

ไบโอชาร์ (Biochar) คืออะไร ไบโอชาร์ (Biochar)  คือ วัสดุที่อุดมด้วยคาร์บอน ผลิตจากการให้ความร้อนมวลชีวภาพ (biomass, วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เช่น เหง้ามันส าปะหลัง ฟางข้าว ซังข้าวโพด กิ่งไม้ เป็นต้น) โดยไม่ใช้ออกซิเจนหรือใช้น้อยมาก เรียกกระบวนการนี้ว่าการแยกสลายด้วยความร้อน (pyrolysis) ซึ่งมีสองวิธีหลักๆคือการแยกสลายอย่างเร็วและอย่างช้า การผลิตไบโอชาร์ด้วยวิธีการแยกสลายอย่างช้าที่อุณหภูมิเฉลี่ย 500 องศาเซลเซียส จะได้ผลผลิตของไบโอชาร์มากกว่า 50% แต่จะใช้เวลาเป็นชั่วโมง ซึ่งต่างจากวิธีการแยกสลายอย่างเร็วที่อุณหภูมิเฉลี่ย 700 องศาเซลเซียส  ซึ่งใช้เวลาเป็นวินาที ผลผลิตที่ได้จะเป็นน้ำมันชีวภาพ (bio-oil) 60%  แก๊สสังเคราะห์ (syngas)  ได้แก่ H2, CO และ CH4  รวมกัน 20% และ ไบโอชาร์ 20%  … Read More »ไบโอชาร์

ไผ่ กับคาร์บอนเครดิต

ไผ่เป็นพืชที่มีศักยภาพสูงในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นไม้โตเร็ว มีความสามารถในการตรึงก๊าซคาร์บอนใดออกไซด์ ป่าไผ่ส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่ถึง 7 ปี ก็สามารถให้ปริมาตรไม้ที่ กักเก็บคาร์บอนได้ในปริมาณที่เทียบเท่ากับป่าธรรมชาติที่ใช้เวลา 40 – 100 ปี นอกจากนี้หากได้รับการจัดการที่เหมาะสมในพื้นที่เท่า ๆ กัน ไผ่จะช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนใดออกไซด์ ผลิตก๊าซออกซิเจน และกัก เก็บคาร์บอนไว้ในรูปของเนื้อไม้ได้มากว่าต้นไม้ทั่วๆไปถึง 33- 70% (ไผ่ พืชทางเลือกกับการซื้อขายคาร์บอนเครดิต) คาร์บอนเครดิต คาร์บอนเครดิต หมายถึง สิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม (โดยที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ จะเทียบกับสัดส่วนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์) อันเนื่องมาจากการที่บุคคลหรือองค์กรได้ดำเนินโครงการหรือมาตรการที่มีเป้าหมาย เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม รวมถึง การเก็บกัก หรือ การดูดกลับด้วย จากกิจกรรมหรือโครงการ ซึ่งสิทธิดังกล่าวนี้สามารถวัดปริมาณ โดยจะต้องมีการรับรองโดยหน่วยรับรอง ตามระเบียบหรือวิธีการของทางราชการที่เป็นที่ยอมรับหรือเทียบได้กับระดับสากล ( องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.)… Read More »ไผ่ กับคาร์บอนเครดิต